ในบรรดากิจกรรมทั้งหมดของสมอง การนอนหลับลึกลับที่สุด เราทุกคนจะใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตนอน เรารู้ว่าเรารู้สึกแย่แค่ไหน ถ้าไม่นอน และมันเป็นเช่นนั้นด้วยเวลาเราฝัน

สำหรับหลายคน การฝันอาจดูเหมือนเสียเวลา แล้วมันมีจุดมุ่งหมายหรือไม่ สมองของเราอาจวุ่นในช่วงที่เราตื่น แต่ระหว่างที่เราหลับ มีช่วงหนึ่งที่สมองยุ่งกว่านั้นอีก

ช่วงที่ร่างกายของเรานิ่งที่สุด คือตอนที่สมองทุกส่วนมีชีวิตชีวา นั่นคือตอนที่เราฝัน

แต่มีสมองส่วนเดียวที่หยุดทำงานจริงๆ ศูนย์ตรรกะ (Logic center) เมื่อไม่ถูกจำกัดด้วยเหตุผล สมองที่ฝันสามารถท่องไปอย่างไม่จำกัด ในดินแดนมหัศจรรย์ที่มันสร้างขึ้น

สตีเฟน (Stephen La Berger): มนุษย์มีศักยภาพที่จะฝัน ซึ่งเหมือนโลกเสมือนจริง ที่คุณสามารถจำลองประสบการณ์ทุกอย่างเท่าที่จินตนาการได้

หลังเปลือกตาที่ปิด ตาของเรากลอกไปมาในช่วงที่เราฝัน จึงมีคำเรียกว่า หลับแบบตากระตุก หรือหลับเร็ม (REM: rapid eye movements) ระหว่างหลับเร็ม สมองของเราทำงานยุ่งมากจนมีเลือดไหลเข้าสู่มันเกือบ 2 เท่า ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เราทำตามความฝัน สมองจึงส่งสัญญาณไปที่ไขสันหลัง ทำให้แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ชั่วคราว เราอาจรู้สึกว่า ฝันทั้งคืน แต่เราฝันเป็นพักๆ ครั้งละไม่กี่นาที แต่ตลอดชีวิต เราจะใช้เวลาฝันถึง 6 ปี

ความฝันทำมากกว่าให้ความบันเทิงสมอง มันเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกความทรงจำ มีเพียงตอนพักเท่านั้น ที่สมองสามารถเลือกค้นประสบการณ์ของสมอง และกำจัดประสบการณ์ที่ไม่มีประโยชน์

ไมเคิล: บางคนเชื่อว่า การหลับเร็ม ก็เหมือนกับระบบการเข้าแฟ้ม สมองของคุณค้นเศษข้อมูลมั่วๆนี้ และเก็บสิ่งที่มีประโยชน์เข้าแฟ้ม และทิ้งสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเราตื่นจะถูกเก็บไว้ในความทรงจำชั่วคราว ในฝัน เราโยนเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องทิ้ง และเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ไว้ในคลังเก็บถาวร

มาร์ค: เรารู้ว่า เวลาคุณเข้านอนตอนกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงหลับเร็ม หรือหลับฝัน นั่นคือตอนที่มีการรวบรวมความทรงจำของคุณ นั่นคือตอนที่คุณเรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น ความจริงมันชัดมาก ถ้าคุณอ่านหนังสือแล้วนอน คุณจะทำข้อสอบวันรุ่งขึ้นได้ดีขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำคือ ถ่างตาท่องหนังสือ แล้วไปสอบ การนอนหลับสำคัญมากต่อการจำและการเรียนรู้

แต่ขั้นตอนการเลือกเฟ้นอาจแปลก เมื่อไม่มีเหตุผลมาออกคำสั่ง ความคิดสามารถปะทะกัน ปลดปล่อยความสร้างสรรค์ และสร้างความคิดใหม่ๆ นี่อาจอธิบายว่า อัจฉริยะทำงานอย่างไร ความฝันของไอสไตน์ ว่าเดินทางด้วยเลื่อนที่ มีความเร็วแสง มีอิทธิพลต่อทฤษฎีสัมพันธภาพ ผู้ได้รางวัลโนเบล นีลส์ บอร์ ปฏิวัติฟิสิกส์เมื่อการฝันถึงม้า ให้เบาะแสเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม และศิลปิน ซัลวาดอร์ ดาลี เรียกงานเหนือจริงของเขาว่า เป็นการถ่ายภาพความฝัน ที่วาดด้วยมือ ความฝันมีประโยชน์ แม้แต่กับเทคโนโลยีอวกาศ ระหว่างฝัน นักออกแบบของนาซ่า บรูซ เดเมอร์ แก้ปัญหาที่กวนใจเขามาหลายเดือน ทำอย่างไรจึงจะสร้างฐานถาวรบนดวงจันทร์ได้

บรูซ: มีองค์ประกอบสารพัด คุณจะป้องกันนักบินอวกาศจากรังสียังไง คุณจะให้พวกเขาใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์ยังไง เช่น ใช้ออกซิเจนจากวัสดุบนผิวดวงจันทร์ และผมซึมซับเรื่องพวกนี้มาหลายเดือนจริงๆ แล้วคืนหนึ่งผมก็พูดขึ้นมาว่า โอเค ทุกอย่างอยู่ในนี้แล้ว เอาเลยสิ รู้มั้ย เปิดเครื่องประมวลความฝัน และช่วยบอกอะไรผมหน่อย

คืนนั้น สมองคลายปม บรูซ พบคำตอบของเขา หุ่นยนต์ ที่ส่งไปกับยานอวกาศ สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ และสร้างฐานก่อนที่นักบินอวกาศจะออกจากโลกด้วยซ้ำ เมื่อเขาตื่น เขาเริ่มสเก็ตภาพ และคนที่นาซ่าชอบความคิดนี้

บรูซ: ข้าราชการนาซ่าเขียนรายงานว่า งานนี้ริเริ่มแค่ไหน และเป็นการคิดที่ก้าวไกลแค่ไหน และผมยกความชอบให้โลกแห่งความฝันที่ปราศจากโซ่ตรวน

ความท้าทายคือ อย่าปล่อยให้ฝันส่งเดช เราอาจจะสามารถใช้พลังสมองที่กำลังฝัน โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การฝันลูซิด (Lucid dream)

สตีเฟน: ปกติแล้วการฝันลูซิด เกิดขึ้นเวลาที่คุณอยู่ในฝันและมีสิ่งแปลกๆเกิดขึ้น และคุณเริ่มสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้น รู้มั้ย ทำไมคุณลอยอยู่กลางอากาศ คุณทำได้ยังไง อ๋อ เพราะมันคือความฝัน

กุญแจคือ เรียนรู้วิธีที่จะรู้ว่า คุณกำลังฝันโดยไม่ต้องตื่น ขั้นต่อไปคือ ฝันไปที่ที่คุณต้องการ เพื่อช่วย สตีเฟน ลาเบิร์ก สร้างหน้ากากอัจฉริยะ หรือ "โนวาดรีมเมอร์" (NovaDreamer) ข้างในมีเซ็นเซอร์ตรวจการกระตุกของตา (ช่วงหลับฝัน) หน้ากากนี้จะกะพริบไฟ สว่างพอผ่านเปลือกตาของคุณ แต่ไม่สว่างจนปลุกให้คุณตื่น มันคือสัญญาณที่บอกอย่างอ่อนโยนว่าคุณฝัน ด้วยการฝึก คุณสามารถบังคับสมองที่กำลังฝัน ให้นำความคิดคุณสู่อาณาเขตที่แปลกใหม่

สตีเฟน: การใช้ประโยชน์จากความฝันนี้มีหลายอย่าง เช่น ถ้าคุณเป็นศิลปิน ที่อยากได้ไอเดียวาดภาพใหม่ๆ คุณเดินเข้าห้องถัดไป พร้อมความคิดว่าจะมีภาพใหม่บนผนัง และรู้อะไรมั้ย มีภาพใหม่อยู่ตรงนั้นแล้ว

การจัดการความฝันอาจเป็นโอกาสเดียว ที่เราจะมีอิทธิพลต่อสิ่งที่ปกติอยู่เหนือการควบคุมของเรา สมอง

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment