คำตอบคือกินสายกลาง กินสายกลางคือกินมื้อเช้าและมื้อเที่ยง งดมื้อเย็น เปรียบตัวเราเป็นรถยนต์ ตื่นเช้ามาต้องเติมน้ำมันก่อน หรือกินมื้อเช้า รถจึงจะวิ่งได้ ถึงเที่ยงน้ำมันยังไม่หมด เติมอีกครั้ง ถึงเย็นก่อนนอนก็ยังไม่หมดพิสูจน์ได้ดังนี้

สมมุติกินไข่ลวก 1 ฟองโตๆ มีไข่แดงหนัก 50 กรัม ในไข่แดงมีคลอเลสเตอรอล 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลอรี่ ฉะนั้น 50 กรัม ให้พลังงาน 450 แคลอรี่ จะต้องออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานนี้ โดยขี่จักรยานตั้งแรงต้านไว้ 1.3 ก.ก. ความเร็วที่ปั่นบันไดจักรยาน 60 รอบต่อนาที ขี่อยู่นาน 60 นาที จะเหนื่อยหอบ เหงื่อไหลท่วมตัว แต่ใช้พลังงานไปเพียง 300 แคลอรี่ ไข่ใบเดียวใช้ไม่หมด

ฉะนั้นถ้ากินมื้อเช้า มื้อเที่ยง จนถึงเย็น พลังงานยังเหลือแน่นอน ไม่จำเป็นต้องไปเติมอีก เพราะเวลานอนร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือใช้ไปเก็บในที่ต่างๆ โดยตับเป็นผู้ทำงานนี้ ถ้าพลังงานเหลือมาก การเอาไปเก็บในที่ต่างๆก็มาก ทำให้อ้วน และแน่นอนถ้าเก็บไม่หมดโดยเฉพาะพวกไขมันตัวโตๆ จะต้องค้างอยู่ในหลอดเลือด
ถ้าค้างสะสมมากเท่าใด รูหลอดเลือดก็จะเล็กลงทุกวัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้น้อยลง อวัยวะทั้งหลายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือแก่เร็วขึ้น

ถ้าวันไหนอุดตัน เช่นถ้าตันที่สมอง จะกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งซีก

ถ้าอุดตันที่ไต ต้องล้างไต เปลี่ยนไต

ถ้าตันที่ขา อาจต้องตัดขาทิ้ง

ถ้าตันที่กล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะไม่มีโอกาสได้สั่งลาใคร

ฉะนั้นการกินมื้อเย็นจึงเป็นมื้อที่เร่งกระบวนการเสื่อมถึงเสียชีวิตให้เร็วขึ้นไปอีก มื้อเย็นจึงเป็นมื้ออันตราย เป็นมื้อตายผ่อนส่ง ยิ่งกินมื้อเย็นมาก ยิ่งผ่อนส่งมาก ตายเร็ว ถ้าไม่กินมื้อเย็น ก็จะแก่ช้า เสื่อมช้า อายุยืน

การไม่กินอาหารมื้อเย็นเป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะใจตัวเองอย่างมาก ถ้าใครทำได้จะตัดทั้งกิเลส สุขภาพดี อายุยืน และมีสมาธิดี
ความมุ่งมั่นสูง ได้ประโยชน์ทั้งกายและใจ แต่ท่าน ต้องฝึกกระเพาะให้เกิดความเคยชิน วิธีฝึกมี 4 วิธี

1. ค่อยๆลดปริมาณอาหารมื้อเย็น ทีละน้อยๆเช่นลดกินข้าวจาก 2 จาน เหลือ 1 1/2 จาน สัก 3-4 เดือน โดยมีข้อแม้ว่า หลังอาหารเย็นแล้วห้ามกินอาหารใดๆทั้งนั้นยกเว้นน้ำเปล่า พอกระเพาะชินแล้วลดเหลือ 1 จาน ต่อไปครึ่งจาน ต่อไปไม่กินข้าวเลยกินแต่กับ ต่อไปกินผักผลไม้ สุดท้ายงดอาหารเย็น

2. ร่นเวลากินอาหารเย็น เช่นจาก 2 ทุ่มมากิน 1 ทุ่ม ต่อไปเลื่อนเป็น 6 โมงเย็น 5 โมงเย็น 4 โมงเย็น 3 โมงเย็น ฯ

3. กินเม็ดแมงลักแทนมื้อเย็น ใช้เม็ดแมงลัก 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยน้ำแกงหรือน้ำเปล่าคนแล้วดื่มทันที ดื่มน้ำตามอีก 4-5 แก้ว

4. กินมังสะวิรัตมื้อเย็น การกินผักผลไม้ถือว่าเป็นอาหารไม่มีพิษ ร่างกายจะได้พักไม่ต้องทำลายพิษของอาหารเนื้อสัตว์

พิษที่สะสมไว้ก่อนก็จะถูกตับ ไต กำจัดหมดไปเองได้ ร่างกายมีเวลาถึง 18 ช.ม. กำจัดพิษที่ติดมากับมื้อเช้า มื้อเที่ยงได้ทัน

ฉะนั้นการไม่กินอาหารเย็น จึงเป็นเวลาที่ตับ ไต จะสามารถกำจัดสารพิษจากอาหารมื้อเช้าและเที่ยงได้หมด ร่างกายจึงบริสุทธิ์ทุกวัน

ท่านทราบแล้วใช่ใหมว่า ทำไมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติให้พระฉันเพียง 2 มื้อ คือ เช้า กับ เพล


สารต้านอนุมูลอิสระ ไม่มีแต่ในผักผลไม้สดเท่านั้น

หากคราวหน้าคุณคิดจะปาสตรอเบอรีหรือองุ่นค้างคืนทิ้งละก็ อย่าเพิ่งนะครับ

เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียมเพิ่งรายงานมาว่า ผักและผลไม้เหล่านี้ยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่อีกหลายวันหลังจากที่เราซื้อมา บางชนิดแม้เราจะเห็นว่าใกล้เสียแล้วก็ยังมีคุณค่าอยู่แถมบางชนิดยิ่งเก่าเท่าไรยิ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระมากเท่านั้นครับ

อายุของผักและผลไม้นั้นเราอาจสังเกตได้จากรูปร่างลักษณะภายนอก

แต่ผักผลไม้อายุมาก ที่เราพยายามจะเขวี้ยงทิ้งกลับมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ คำว่ามีประโยชน์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ามีรสชาติอร่อย หรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูงนะครับแต่หมายความว่า มันมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิจัยกล่าวว่ายังไม่มีการศึกษาใดที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเก็บต่อระดับสารต้านอนุมูลอิสระ

Claire Kevers และคณะได้สรรหาผักผลไม้หลายชนิดจากตลาดเบลเยียมมาทดสอบระดับสารต้านอนุมูลอิสระในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปหลังจากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิ 37 องศาฟาเรนไฮต์ในตู้เย็น

จนกระทั่งผักผลไม้นั้นๆ จะเริ่มเน่า ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าหลังจากทิ้งผักผลไม้ที่ซื้อจากตลาดไว้หลายวัน ผักผลไม้เหล่านั้นยังคงมีสารประกอบจำพวกฟีนอล กรดแอสคอร์บิกและเฟลโวนอล สารเคมีทั้งสามที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับระดับสารต้านอนุมูลอิสระ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ซื้อมานั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของสารประกอบเหล่านี้ครับ

สรุปว่าผักและผลไม้ที่ค้างคืน แม้จะดูไม่น่าทาน แต่ก็มีประโยชน์อยู่นะครับ ไม่จำเป็นต้องรีบทิ้งหรอกครับ

การศึกษาชิ้นนี้มีชื่อว่า "Evolution of Antioxidant Capacity during Storage of Selected Fruits and Vegetables" ตีพิมพ์ในวารสาร Agricultural and Food Chemistry ฉบับวันที่ 17 ต.ค.

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment