โกฐจุฬาลำพาจีน




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia vulgaris L. var indica

วงศ์ : ASTERACEAE

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ :

ลำต้น ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ขอบหยักเว้า ลึกเป็นพู ดอกช่อ แยกแขนง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลมขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีชั้นใบประดับ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ผล เป็นผลแห้งไม่แตกเมล็ด รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ผิวเกลี้ยง

สารออกฤทธิ์ที่พบ: Chemiebase

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ

ใบ : ใช้เป็นยาถ่ายน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องร่วง ถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ขับลมในลำไส้ แก้ไขข้ออักเสบ ระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ บำรุงมดลูก ระงับอาการปวดท้อง และอาการเจ็บท้องคลอดลูก โดยการใช้ใบต้มเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอกนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแก้โรคปวดศีรษะ รักษาบาดแผลเรื้อรัง แก้อาการเคล็ดบวม ใช้สูบควันแก้โรคหืด

ช่อดอก : ใช้ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ขับเสมหะ แก้หืด อาหารไม่ย่อย

เอกสารอ้างอิง 1. พจนานุกรมสมุนไพรไทย ISBN : 974-9556-82-8 พิมพ์ครั้งที่ 6 2548

ที่มา ไทยเฮิร์บ

เหงือกปลาหมอ




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl


ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius L.


ชื่อสามัญ : Sea holly


วงศ์ : ACANTHACEAE


ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ


ส่วนที่ใช้ : ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด


สรรพคุณ :
ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
ราก - ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด- รักษามุตกิดระดูขาว
เมล็ด - ปิดพอกฝี- ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย


วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน


ที่มา eduzones.com

บทความ แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเหงือกปลาหมอ

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment