ในที่สุดก็พบ!! พระศพ “ราชินีมีเครา” ฟาโรห์หญิงหนึ่งเดียวแห่งไอยคุปต์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2550 19:22 น.
เอพี/เอเยนซี/วิกิพีเดีย/อินเทอร์เน็ต – อียิปต์แถลงข่าวการค้นพบที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งในวงการโบราณคดี รองจากการพบ “ตุตันคาเมน” หลังวิเคราะห์ “ฟัน” และข้อมูลดีเอ็นเอจนมั่นใจว่าสามารถระบุมัมมี่ของ “ฮัตเชปซุต” ฟาโรห์หญิงผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในอาณาจักรอียิปต์โบราณได้แล้ว แต่พระศพเจ้าของสมญา “ราชินีมีเครา” ผู้ยิ่งใหญ่กลับซ่อนอยู่ในหลุมเล็กๆ แถวหุบผากษัตริย์
เมื่อเอ่ยถึงกษัตริย์แห่งดินแดนไอยคุปต์ นอกจาก “ตุตันคาเมน” (Tutankhamun) แล้ว “ฮัตเชปซุต” (Hatshepsut) เป็นชื่อต้นๆ ที่ผู้คนนึกถึงในฐานะผู้ปกครองแห่งยุคทองของอาณาจักรอียิปต์
“ฮัตเชปซุต” เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “ราชินีมีเครา” เพราะตลอดเวลาที่ปรากฏตัวต่อสาธารณะ พระนางทรงเครื่องทรงของบุรุษ และมีเคราปลอมสวม เพื่อความสะดวกในการขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอาณาจักรอียิปต์ในช่วงปีที่ 1479-1458 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 3,500 ปีก่อน) หลังฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 (Tuthmosis II) ซึ่งเป็นทั้งน้องชายต่างมารดาและพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง
“ฮัตเชปซุต” สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกและองค์เดียวของอียิปต์ นับเป็นสตรีผู้ทรงอำนาจคนแรกแห่งโลกโบราณ มีอิทธิพลมากกว่าราชินีเนเฟอร์ติตี (Nefertiti) เสียอีก
ทว่า ฟาโรห์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ที่ 18 ครองบัลลังก์ได้เพียง 21 ปีก็หายตัวไปอย่างลึกลับ รวมทั้งมัมมี่พระศพที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่าฝังว่าไว้ที่ใด
ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) ในฐานะหัวหน้าทีมโบราณคดีของทีมสำรวจช่องดิสคัฟเวอรี (Discovery Channel) เปิดเผยเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ว่า มัมมี่หญิง 1 ใน 2 ร่างที่ค้นพบบริเวณหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในเมืองลักซอร์ คือ พระศพฟาโรห์หญิง “ฮัตเชปซุต” ที่หายสาบสูญไปหลายพันปี นับเป็นอีกการขุดค้นที่ยิ่งใหญ่ ต่อจากการค้นพบพระศพฟาโรห์ตุตันคาเมนตั้งแต่ปี 2456
หลุมศพดังกล่าว ค้นพบโดย โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) หลังจากค้นพบพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนที่หุบผากษัตริย์จนโด่งดังในปี 2446 เขาและทีมสำรวจก็ค้นพบมัมมี่หญิง 2 ร่างที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหลุมดังกล่าวนักโบราณคดีเรียกว่า “หลุมเควี 60” (KV 60) จากนั้นในปี 2463 พวกเขาค้นพบหลุมพระศพที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต แต่กลับพบโลงที่ว่างเปล่าถึง 2 โลง
อย่างไรก็ดี ทีมโบราณคดีที่สนับสนุนเงินทุนโดยช่องดิสคัฟเวอรี สหรัฐฯ เพื่อตามหาพระนางฮัตเชปซุตเปิดเผยว่า ในตอนแรกที่วิเคราะห์มัมมี่หญิง 1 ใน 2 ร่าง เชื่อแน่ว่าร่างหนึ่งคือ ซีทเร อิน (Sitre In) แม่นมของพระนาง แต่อีกร่างไม่แน่ใจว่าเป็นผู้ใด
ต่อมานักไอยคุปต์วิทยาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงช่วยกันพิสูจน์ว่ามัมมี่อีกร่างที่เหลือเป็นพระศพของฟาโรห์หญิงพระองค์เดียวแห่งอาณาจักรอียิปต์หรือไม่ โดยฮาวาสส์ได้แสดงหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามัมมีดังกล่าวเป็นพระนางจริง
การค้นพบกล่อง “พระทนต์” หรือฟันซี่ที่หักที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิง ทำให้ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ออกมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อนำมาประกอบเข้ากับช่องว่างที่วัดความละเอียดเป็นมิลลิเมตรในปากของมัมมี่ร่างที่เหลือได้อย่างพอดี
ผลการเอกซเรย์ด้วยเครื่องซีทีสแกนและสร้างภาพ 3 มิติ พร้อมทั้งวิเคราะห์ดีเอ็นเอมัมมี่หญิงอีกร่างในหลุม KV 60 ทำให้เชื่อว่า มัมมี่ร่างดังกล่าวคือพระศพของฟาโรห์หญิงผู้ยิ่งใหญ่ที่นักโบราณคดีตามหามานาน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม โดยกระบวนการวิเคราะห์เสาะหาทั้งหมดจะออกอากาศทางช่องดิสคัฟเวอรีในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้
ทว่า สก็อต วูดเวิร์ด (Scott Woodward) นักชีววิทยาโมเลกุล มูลนิธิโซเรนสัน ในยูทาห์ สหรัฐฯ (Sorenson Molecular Genealogy Foundation in Salt Lake City, Utah) ซึ่งทำวิจัยเรื่องดีเอ็นเอในมัมมี่ กลับตั้งคำถามต่อความมั่นใจในการใช้ข้อมูลทางดีเอ็นเอฟันธงว่าเป็นพระนาง
“มันยากที่จะนำดีเอ็นเอจากมัมมี่มาใช้งาน หากจะใช้ดีเอ็นเอนำไปอ้างถึงความสัมพันธ์ จะต้องนำลำดับดีเอ็นเอจากพ่อแม่ หรือปู่ย่าของพระนางมาเปรียบเทียบ ซี่งการใช้ข้อมูลพันธุกรรมของพระนางมาดูรายละเอียดก็จะพบได้แค่เชื้อสายทางมารดาของพระนางเท่านั้น”
“จะเป็นไปได้ไหมถ้านั่นคือมีมัมมี่ที่เป็นพระญาติกับฮัตเชปซุต หรือเราอาจพบมัมมีที่มีลักษณะทางดีเอ็นเอเช่นนี้และเป็นญาติกัน เพราะผ่านมาแล้ว 3,500 ปี และการสกัดดีเอ็นเอออกมาก็สุดจะยาก” วูดเวิร์ดแสดงความกังขา
ทางด้าน โดนัลด์ ไรอัน (Donald Ryan) ผู้เชี่ยวชาญด้านอียิปต์โบราณซึ่งค้นพบหลุมพระศพอีกครั้งในปี 2532 ให้ความเห็นผ่านเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตว่า มีความเป็นไปได้หลายทางที่จะระบุว่า 1 ในมัมมี่หญิงทั้ง 2 ที่ค้นพบในหลุม KV 60 เป็นฮัตเชปซุต
ทว่า นักไอยคุปต์รายนี้กลับไม่เชื่อว่ามัมมี่ใน KV 60 คือฟาโรห์หญิงหนึ่งเดียวของอียิปต์ เพราะร่างมัมมี่ที่ใหญ่มาก และเต้าอกก็มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใช่ รวมถึงร่องรอยที่แขนขวาก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกษัตริย์เสมอไป
อย่างไรก็ดี มัมมี่ของพระนางที่ค้นพบในหลุมที่เล็กไม่สมพระเกียรตินั้น เป็นไปได้ว่าเพราะต้องการเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย หลังจากพระนางหายสาบสูญไปจากบันทึก ซึ่งอาจเป็นเพราะทุตโมซิสที่ 3 (Tuthmosis III) หลานชายของพระนางชิงบัลลังก์กลับคืน ทั้งยังลบชื่อและความทรงจำที่เกี่ยวกับพระนางออกทั้งหมด
ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต เป็นพระราชธิดาองค์เดียวของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Tuthmosis I) กับพระราชินีอาโมซิส ด้วยความเป็นหญิงสิทธิในราชบัลลังก์จึงตกอยู่กับโอรสของพระชายารอง เมื่อน้องต่างมารดาครองราชย์เป็นฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 ก็อภิเษกกับเจ้าหญิงฮัตเชปซุตตามประเพณีของอียิปต์ เพื่อรักษาสายเลือดอันบริสุทธิ์ของพระราชวงศ์
ทุตโมซิสที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ อำนาจบริหารจึงตกอยู่ในมือราชินีที่ฝึกฝนการบริหารราชการกับฟาโรห์องค์ก่อน อีกทั้งตัวราชินีฮัตเชปซุตเองก็มีพระธิดาเพียงองค์เดียว แต่ชายารองกลับมีพระโอรส ดังนั้นจึงเสียสิทธิการครองราชย์ไปอีกครั้ง
ทว่า ทุตโมซิสที่ 2 สิ้นพระชนม์ขณะที่รัชทายาทยังเยาว์นัก ดังนั้น พระนางฮัตเชปซุต (ผู้เป็นแม่เลี้ยง) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และหลังจากกุมอำนาจได้หลายปีด้วยความทะเยอทะยานพระนางจึงตัดสินพระทัยขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอียิปต์ในที่สุด
“ฮัตเชปซุต” ประกาศองค์เป็นธิดาผู้เป็นที่รักของสุริยเทพอามอน (รา) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครองบัลลังก์ นอกจากนี้ พระนางยังทรงสร้างเสาโอบีลิกซึ่งเป็นแท่งหินสูงมียอดหุ้มด้วย เงินผสมทองคำและสลักเรื่องราวของพระนางลงไป
ฟาโรห์หญิงมีเสนาบดีคู่พระทัยชื่อว่า เซเนมุต (Senemut) และเชื่อกันว่าเป็นชู้รักของพระนาง ซึ่งเซเนมุทก็หายตัวไปพร้อมกับพระนางอย่างลึกลับ หลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลายจนแทบไม่มีอะไรเหลือ
ส่วนวิหารฮัตเชปซุต (Temple of Hatsheepsut) อันเป็นหลุมพระศพของพระนาง (อย่างเป็นทางการ) นั้น อยู่ที่บริเวณหุบผากษัตริย์ในนครธีบส์ อันเป็นเมืองหลวงแห่งยุคอาณาจักรใหม่ (New kingdom) ช่วง 1539-1075 ปีก่อนคริต์ศักราช เต็มไปด้วยเสาหินทรายขนาดใหญ่จำนวนมาก เพื่อแสดงถึงอำนาจ ซึ่งมีวิหารประกอบพิธีศพคาอีร์ อัล บาห์รี (Dayr al - Bahri) เป็นสถาปัตยกรรมที่คงเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน
เมื่อเอ่ยถึงกษัตริย์แห่งดินแดนไอยคุปต์ นอกจาก “ตุตันคาเมน” (Tutankhamun) แล้ว “ฮัตเชปซุต” (Hatshepsut) เป็นชื่อต้นๆ ที่ผู้คนนึกถึงในฐานะผู้ปกครองแห่งยุคทองของอาณาจักรอียิปต์
“ฮัตเชปซุต” เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “ราชินีมีเครา” เพราะตลอดเวลาที่ปรากฏตัวต่อสาธารณะ พระนางทรงเครื่องทรงของบุรุษ และมีเคราปลอมสวม เพื่อความสะดวกในการขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอาณาจักรอียิปต์ในช่วงปีที่ 1479-1458 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 3,500 ปีก่อน) หลังฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 (Tuthmosis II) ซึ่งเป็นทั้งน้องชายต่างมารดาและพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง
“ฮัตเชปซุต” สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกและองค์เดียวของอียิปต์ นับเป็นสตรีผู้ทรงอำนาจคนแรกแห่งโลกโบราณ มีอิทธิพลมากกว่าราชินีเนเฟอร์ติตี (Nefertiti) เสียอีก
ทว่า ฟาโรห์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ที่ 18 ครองบัลลังก์ได้เพียง 21 ปีก็หายตัวไปอย่างลึกลับ รวมทั้งมัมมี่พระศพที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่าฝังว่าไว้ที่ใด
ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) ในฐานะหัวหน้าทีมโบราณคดีของทีมสำรวจช่องดิสคัฟเวอรี (Discovery Channel) เปิดเผยเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ว่า มัมมี่หญิง 1 ใน 2 ร่างที่ค้นพบบริเวณหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในเมืองลักซอร์ คือ พระศพฟาโรห์หญิง “ฮัตเชปซุต” ที่หายสาบสูญไปหลายพันปี นับเป็นอีกการขุดค้นที่ยิ่งใหญ่ ต่อจากการค้นพบพระศพฟาโรห์ตุตันคาเมนตั้งแต่ปี 2456
หลุมศพดังกล่าว ค้นพบโดย โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) หลังจากค้นพบพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนที่หุบผากษัตริย์จนโด่งดังในปี 2446 เขาและทีมสำรวจก็ค้นพบมัมมี่หญิง 2 ร่างที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหลุมดังกล่าวนักโบราณคดีเรียกว่า “หลุมเควี 60” (KV 60) จากนั้นในปี 2463 พวกเขาค้นพบหลุมพระศพที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต แต่กลับพบโลงที่ว่างเปล่าถึง 2 โลง
อย่างไรก็ดี ทีมโบราณคดีที่สนับสนุนเงินทุนโดยช่องดิสคัฟเวอรี สหรัฐฯ เพื่อตามหาพระนางฮัตเชปซุตเปิดเผยว่า ในตอนแรกที่วิเคราะห์มัมมี่หญิง 1 ใน 2 ร่าง เชื่อแน่ว่าร่างหนึ่งคือ ซีทเร อิน (Sitre In) แม่นมของพระนาง แต่อีกร่างไม่แน่ใจว่าเป็นผู้ใด
ต่อมานักไอยคุปต์วิทยาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงช่วยกันพิสูจน์ว่ามัมมี่อีกร่างที่เหลือเป็นพระศพของฟาโรห์หญิงพระองค์เดียวแห่งอาณาจักรอียิปต์หรือไม่ โดยฮาวาสส์ได้แสดงหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามัมมีดังกล่าวเป็นพระนางจริง
การค้นพบกล่อง “พระทนต์” หรือฟันซี่ที่หักที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิง ทำให้ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ออกมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อนำมาประกอบเข้ากับช่องว่างที่วัดความละเอียดเป็นมิลลิเมตรในปากของมัมมี่ร่างที่เหลือได้อย่างพอดี
ผลการเอกซเรย์ด้วยเครื่องซีทีสแกนและสร้างภาพ 3 มิติ พร้อมทั้งวิเคราะห์ดีเอ็นเอมัมมี่หญิงอีกร่างในหลุม KV 60 ทำให้เชื่อว่า มัมมี่ร่างดังกล่าวคือพระศพของฟาโรห์หญิงผู้ยิ่งใหญ่ที่นักโบราณคดีตามหามานาน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม โดยกระบวนการวิเคราะห์เสาะหาทั้งหมดจะออกอากาศทางช่องดิสคัฟเวอรีในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้
ทว่า สก็อต วูดเวิร์ด (Scott Woodward) นักชีววิทยาโมเลกุล มูลนิธิโซเรนสัน ในยูทาห์ สหรัฐฯ (Sorenson Molecular Genealogy Foundation in Salt Lake City, Utah) ซึ่งทำวิจัยเรื่องดีเอ็นเอในมัมมี่ กลับตั้งคำถามต่อความมั่นใจในการใช้ข้อมูลทางดีเอ็นเอฟันธงว่าเป็นพระนาง
“มันยากที่จะนำดีเอ็นเอจากมัมมี่มาใช้งาน หากจะใช้ดีเอ็นเอนำไปอ้างถึงความสัมพันธ์ จะต้องนำลำดับดีเอ็นเอจากพ่อแม่ หรือปู่ย่าของพระนางมาเปรียบเทียบ ซี่งการใช้ข้อมูลพันธุกรรมของพระนางมาดูรายละเอียดก็จะพบได้แค่เชื้อสายทางมารดาของพระนางเท่านั้น”
“จะเป็นไปได้ไหมถ้านั่นคือมีมัมมี่ที่เป็นพระญาติกับฮัตเชปซุต หรือเราอาจพบมัมมีที่มีลักษณะทางดีเอ็นเอเช่นนี้และเป็นญาติกัน เพราะผ่านมาแล้ว 3,500 ปี และการสกัดดีเอ็นเอออกมาก็สุดจะยาก” วูดเวิร์ดแสดงความกังขา
ทางด้าน โดนัลด์ ไรอัน (Donald Ryan) ผู้เชี่ยวชาญด้านอียิปต์โบราณซึ่งค้นพบหลุมพระศพอีกครั้งในปี 2532 ให้ความเห็นผ่านเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตว่า มีความเป็นไปได้หลายทางที่จะระบุว่า 1 ในมัมมี่หญิงทั้ง 2 ที่ค้นพบในหลุม KV 60 เป็นฮัตเชปซุต
ทว่า นักไอยคุปต์รายนี้กลับไม่เชื่อว่ามัมมี่ใน KV 60 คือฟาโรห์หญิงหนึ่งเดียวของอียิปต์ เพราะร่างมัมมี่ที่ใหญ่มาก และเต้าอกก็มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใช่ รวมถึงร่องรอยที่แขนขวาก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกษัตริย์เสมอไป
อย่างไรก็ดี มัมมี่ของพระนางที่ค้นพบในหลุมที่เล็กไม่สมพระเกียรตินั้น เป็นไปได้ว่าเพราะต้องการเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย หลังจากพระนางหายสาบสูญไปจากบันทึก ซึ่งอาจเป็นเพราะทุตโมซิสที่ 3 (Tuthmosis III) หลานชายของพระนางชิงบัลลังก์กลับคืน ทั้งยังลบชื่อและความทรงจำที่เกี่ยวกับพระนางออกทั้งหมด
ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต เป็นพระราชธิดาองค์เดียวของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Tuthmosis I) กับพระราชินีอาโมซิส ด้วยความเป็นหญิงสิทธิในราชบัลลังก์จึงตกอยู่กับโอรสของพระชายารอง เมื่อน้องต่างมารดาครองราชย์เป็นฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 ก็อภิเษกกับเจ้าหญิงฮัตเชปซุตตามประเพณีของอียิปต์ เพื่อรักษาสายเลือดอันบริสุทธิ์ของพระราชวงศ์
ทุตโมซิสที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ อำนาจบริหารจึงตกอยู่ในมือราชินีที่ฝึกฝนการบริหารราชการกับฟาโรห์องค์ก่อน อีกทั้งตัวราชินีฮัตเชปซุตเองก็มีพระธิดาเพียงองค์เดียว แต่ชายารองกลับมีพระโอรส ดังนั้นจึงเสียสิทธิการครองราชย์ไปอีกครั้ง
ทว่า ทุตโมซิสที่ 2 สิ้นพระชนม์ขณะที่รัชทายาทยังเยาว์นัก ดังนั้น พระนางฮัตเชปซุต (ผู้เป็นแม่เลี้ยง) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และหลังจากกุมอำนาจได้หลายปีด้วยความทะเยอทะยานพระนางจึงตัดสินพระทัยขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอียิปต์ในที่สุด
“ฮัตเชปซุต” ประกาศองค์เป็นธิดาผู้เป็นที่รักของสุริยเทพอามอน (รา) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครองบัลลังก์ นอกจากนี้ พระนางยังทรงสร้างเสาโอบีลิกซึ่งเป็นแท่งหินสูงมียอดหุ้มด้วย เงินผสมทองคำและสลักเรื่องราวของพระนางลงไป
ฟาโรห์หญิงมีเสนาบดีคู่พระทัยชื่อว่า เซเนมุต (Senemut) และเชื่อกันว่าเป็นชู้รักของพระนาง ซึ่งเซเนมุทก็หายตัวไปพร้อมกับพระนางอย่างลึกลับ หลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลายจนแทบไม่มีอะไรเหลือ
ส่วนวิหารฮัตเชปซุต (Temple of Hatsheepsut) อันเป็นหลุมพระศพของพระนาง (อย่างเป็นทางการ) นั้น อยู่ที่บริเวณหุบผากษัตริย์ในนครธีบส์ อันเป็นเมืองหลวงแห่งยุคอาณาจักรใหม่ (New kingdom) ช่วง 1539-1075 ปีก่อนคริต์ศักราช เต็มไปด้วยเสาหินทรายขนาดใหญ่จำนวนมาก เพื่อแสดงถึงอำนาจ ซึ่งมีวิหารประกอบพิธีศพคาอีร์ อัล บาห์รี (Dayr al - Bahri) เป็นสถาปัตยกรรมที่คงเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน
- ทีมโบราณคดีของรัฐบาลอียิปต์พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์จากหลายชาติร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคโนโลยี ทั้งซีทีสแกน และรหัสพันธุกรรม ซึ่งมี "ฟัน" ซี่ที่หักเป็นร่องรอยสำคัญในการระบุตัวฟาโรห์หญิงที่ไม่มีผู้ใดพบพระศพมาก่อน
- มัมมีพระศพราชินีฮัตเชปซุต ที่คาร์เตอร์ (เจ้าเก่า) ผู้ค้นพบตุตันคาเมนเป็นผู้ค้นเจอ ร่าง 3 พันปีของหญิงผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในอาณาจักรอียิปต์โบราณ
- พระนาม "ฮัตเชปซุต" มีความหมายว่า "ยอดขัตติยา"
- สื่อมวลชนให้ความสนใจกันล้มหลาม เพราะการค้นพบฟาโรห์ที่คนกล่าวขวัญถึง นับเป็นการค้นพบที่สุดยอดไม่แพ้การพบตุตันคาเมน
- "ราชินีมีเครา" รูปปั้นของพระนางฮัตเชปซุตมีหนวดเหมือนฟาโรห์ชาย นั่นเพราะพระนางทรงเครื่องเป็นชายตลอดเวลาว่าราชการ
- เสาโอบิลิสที่พระนางฮัตเซปซุตสร้างขึ้นไว้ในวิหารคาร์นักแกะจากหินแกรนิตสีชมพู หลังทุตโมซิสที่ 2 ครองราชย์ได้สร้างกำแพงขึ้นมาบังเสาของพระนาง
- หลุมพระศพของฮัตเชปซุตที่มีแต่โลงเปล่า จึงทำให้ต้องตามหากันหลายร้อยปี
ป้ายกำกับ: egypt
0 ความคิดเห็น:
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Labels
- astrology program (4)
- biodiesel (1)
- comic (1)
- condo plan (39)
- deva (2)
- dharma (4)
- egypt (12)
- english terms (5)
- ergonomic (1)
- feng shui (7)
- FFI (3)
- fuel (1)
- gas (1)
- gasoline (1)
- gemstone (3)
- health (3)
- heroes (5)
- hobby (6)
- jagannatha hora (2)
- knowledge (17)
- make merit (1)
- maps (1)
- mlm (1)
- mpg-cap (1)
- mpg-mega-crumb (1)
- my trip (5)
- my wish list (5)
- numerology (3)
- oil (1)
- rich dad poor dad (1)
- rober kiyosaki (1)
- save (1)
- talismans (4)
- tv show (8)
- vedic astrology (7)
- นามมงคล (2)
- พ่อรวยสอนลูก (1)
- เลขศาสตร์ (3)
- เสริมสิริมงคล (6)