อุปกรณ์ ที่ต้องใช้

- ไฟฉาย
- ถังน้ำ
- โทรศัพท์ไร้สายไว้ตรวจปลั๊กไฟและสายโทรศัพท์
- กระดาษไว้จดรายการซ่อมแซม
- ดินสอ
- เศษผ้า ไว้เช็ดน้ำซึม และเช็ดมือ ที่เปื้อน
- เศษทิชชู่ยุ่ยๆ
- กระดาษกาวไว้แปะจุดที่ต้องซ่อมแซม

อย่างที่ 1 ....... ระบบ สุขาภิบาล ครับ

- เปิดก๊อกน้ำ จนสุดทุกก๊อก........ ดูว่าน้ำไหลดีไหม การหมุนของวาวเป็นอย่างไร หมุนออก หมุนเข้า สองสามครั้ง หรือมากครั้งที่สุด
- ขังน้ำ ในบริเวณที่ขังได้ เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ อ่างครัว ที่ซักผ้า........ให้เต็ม ดูว่า ช่องน้ำล้นทำงานไหม? ....เสร็จแล้ว ปล่อยน้ำออกในทันที ....ถ้าอยู่ในห้องน้ำเดียวกัน ให้เปิดให้น้ำออกพร้อมกัน เพื่อดูว่า การแย่งกันไหลออกของน้ำ มีผลอย่างไร ล้นจากอ่างล้างหน้าไปที่อ่างอาบน้ำไหม? ถ้ามีอาการ ปุดๆ แสดงว่า ไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศตัน หรือท่ออากาศเล็กไป....... พร้อมกันนั้น ก็ชักโครกไปพร้อมๆ กันด้วยนะครับ ยิ่งดี ....แบบให้ระบบน้ำ แย่งกันใช้งาน ให้มากที่สุด
- เอาถังน้ำไปด้วย 1 ใบ รองน้ำให้เต็ม ค่อยๆ เทลงพื้นห้องน้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำ ดูว่า การระบายน้ำที่พื้น เป็นอย่างไร? ....ถ้าทำได้ ให้เอาผ้าอุดที่รูระบายน้ำพื้น ให้น้ำขัง แล้วค่อยปล่อยน้ำให้ไหล ทันที
- ระบบชักโครก ....กด และกด และกด มากที่สุดเท่าที่ทำได้ น้ำไหลคล่องหรือไม่? แล้วลองทิ้งทิชชู่ยุ่ยๆลงไปแล้วกดชักโครก1ครั้งว่าหมดไหม ถ้าขนาดน้ำยังไหลไม่คล่อง แล้วถ้ามีเนื้อ...ก็คิดเองเองครับ
- สายชำระ ....กดดูทุกอัน แรงๆ อย่าปราณีปราศรัย

- เอาเศษผ้าแห้ง เช็ดตามแนวรอยต่างๆ ที่ไม่ควรมีน้ำ ดูว่า มีน้ำซึมหรือเปล่า?
(ยิ่งเราสามารถเอาน้ำ มาไหลในห้องน้ำได้มากเท่าไร โอกาสที่จะเห็นความเสียหาย จากการเดินท่อไม่ดี ก็จะมากขึ้นครับ)


หมายเหตุผู้โพสต์ : ข้างล่างนี่ คัดมาจากอีกกระทู้นึง เห็นว่าคล้ายๆ กันเลยเอามาแปะไว้ด้วยกันเลย

เรื่องน้ำ
อุปกรณ์ที่ต้องมี
1. กระป๋องน้ำ
2. ผ้าเช็ดเท้า
3. กล้องถ่ายรูป (เพื่อถ่ายเอาไว้เป็นหลักฐาน)


1. เริ่มจากน้ำ ให้ไปเปิด-ปิด ก๊อกน้ำทุกหัว (ย้ำว่าทุกหัว) ในบ้านแล้วลองปิดดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ มีรอยรั่วจากตรงไหนบ้าง หากปิดก๊อกน้ำทั้งบ้านแล้ว ให้เดินไปที่ มิเตอร์น้ำ ไปดูว่า มิเตอร์หมุนหรือไม่ หากมิเตอร์หมุนให้ทำการตรวจเช็คแสดงว่ามีท่อน้ำรั่วที่ไหนสักแห่งในบ้าน [ห้องที่มีก๊อกน้ำ ห้องน้ำทุกห้อง อ่างล้างหน้า สายชำระ ชักโครก ห้องครัว (ตาม sink ล้างจาน) สนามพื้นหน้าบ้าน (ก๊อกน้ำฉีดรดน้ำต้นไม้) ]

2. เอากระป๋องน้ำไปด้วย ใบใหญ่ๆ ที่ใส่น้ำได้สัก 5 ลิตรเป็นอย่างน้อย แล้วเติมน้ำใส่กระป๋อง เอาไปเททุกที่ที่มีทางระบายน้ำว่าน้ำระบายออกได้สะดวกหรือไม่ มีการขังหรืออุดตันตรงไหนหรือเปล่า (ห้องน้ำทุกห้อง ระเบียงห้อง หน้าบ้าน)

3. ปั้มน้ำ ให้ลองเปิดน้ำดูแล้วเดินไปที่ปั้มน้ำว่ามีเสียงการทำงานของปั้มหรือเปล่า น้ำแรงแค่ไหน

4. รายการของที่ต้องมีในห้องน้ำ
- อ่างล้างหน้า พร้อมก๊อกน้ำ
- ชักโครง และสายชำระ
- ที่ใส่กระดาษชำระ
- ที่แขวนผ้าเช็ดตัว
- ก๊อกน้ำและฝักบัว
- ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น



อย่างที่2…………..เรื่องไฟฟ้า

อุปกรณ์ที่ต้องมี

- ไขควงวัดไฟ
- ไดร์เป่าผม (ตามความเห็นของผม:ผู้โพสต์กระทู้ ผมว่าใช้ไฟดวงเล็กๆ แบบที่เอาไว้เปิดตอนนอนก็น่าจะได้ เพราะใช้แค่ทดสอบว่าเราสามารถจะใช้งานปลั๊กนั้นได้หรือไม่เท่านั้น)
- ไขควง 4 แฉก
- รองเท้าแตะ หรือ รองเท้าที่เป็นพื้นยาง
- ถุงมือหนาๆ เอาที่กะว่าใส่แล้วยังขยับนิ้วได้ตามปกติ
- บันไดยาวๆ เอาแบบที่พาดได้ อย่างน้อยต้องมีบันไดไปด้วยสูงสัก 2.5 เมตรกำลังดีเอาไว้ปีนดูหลอดไฟ แล้วก็ขึ้นใต้หลังคา
- ไฟฉาย
- กล้องถ่ายรูป

หมายเหตุ - ขณะทำการเช็คไฟให้ใส่รองเท้าและถุงมือเพื่อความปลอดภัย

1. เรื่องการเช็คไฟฟ้า ไม่ยากเลย ทำเหมือนกับน้ำ คือ เดินเปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้าน เปิดทิ้งไว้ ตั้งแต่ทางเข้าบ้าน ....ปิดแล้วเปิดใหม่ทุกดวง อย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ต้องทิ้งระยะเวลาด้วยนิดหนึ่งนะครับ มีดวงไหนขาดไปหรือเปล่า ถ้าขาดให้เปลี่ยนให้ทันที หรือว่า จะย้ายดวงไฟตรงไหน ให้หรือจดเอาไว้แล้วเพิ่มในรายการตรวจรับบ้านได้

2. ปลั๊กไฟให้เอาไขควงวัดไฟจิ้มที่ น๊อต ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น๊อตหรือเปล่า พอเสร็จแล้วให้เอาไดร์เป่าผม เสียบแล้วลองใช้ดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างไม่มีไฟ

3. เดินไปดูที่ห้องน้ำมีการเดินสายไฟเอาไว้ให้สำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น การเดินสายไฟพวกนี้ก็เหมือนกันให้เดิน 3 เส้น (มีสายดิน) แล้วที่สำคัญ ต้องมี breaker ให้ด้วย

4. ให้ปีนขึ้นไปดูใต้หลังคา ก่อนจะปีนให้เอาปิด main breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปด้วยมีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อให้เราหรือเปล่า หากไม่มีให้ทำด้วย ไม่ใช่ร้อยสายไฟในท่อเฉพาะในกำแพงอย่างเดียว ใต้ฝ้าก็ต้องร้อยท่อให้เราด้วย เพราะหากหลังคารั่วน้ำมาโดนสายไฟจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านได้ และสายไฟ main ต้องไม่มีรอยทำการตัดต่อเป็นอันขาด หากมีการตัดต่อให้ทางโครงการเปลี่ยน เพราะอันตรายมาก มีโอกาสทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดเพลิงไหม้ได้สูง

5. ปิดไฟให้หมดทั้งบ้าน (ไม่ต้องปิด main breaker) แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามีไฟวิ่งอยู่หรือเปล่า หากมิเตอร์ยังวิ่งแสดงว่ามีไฟรั่วให้ทำการตรวจหาแล้วทำการแก้ไขเสียก่อน

6. หากทางโครงการแถมติดแอร์ให้ฟรี ให้ทำดังนี้ ให้เปิดแอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสามารถเปิดได้ เปิดให้หมดพร้อมกันทุกตัว สักประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเดินไปดูที่มิเตอร์ไฟว่า มันวิ่งแบบน่ากลัวหรือเปล่า หมุนติ้วๆ เป็นลูกข่างหรือเปล่า เพื่อทำการเช็คได้ว่ามิเตอร์จะทำการรับการใช้งานได้หรือเปล่า แอร์ต้องไม่ตัด อุปกรณ์ทุกอย่างต้องไม่ตัด

7. สายดินของ main breaker ถามเค้าว่าฝังเอาไว้ตรงจุดไหน

8. ปลั๊กไฟนอกอาคาร ต้องเป็นปลั๊กไฟที่มีตัวปิดกันน้ำให้ด้วย เพราะเวลาฝนตกหรือฝนสาดจะได้ไม่เป็นอันตราย
ถ้ามีระบบตัดไฟ และระบบเช็คความต่างศักดิ์ ก็ขอใบรับประกันด้วย ...ที่เครื่องจะมีปุ่ม test ให้กดดูด้วย สอง หรือสามครั้ง ดูว่า ปุ่มหมุนอยู่ที่ 0 หรือเปล่า? ถ้าไม่ใช่ศูนย์ หมุนไปที่ศูนย์ ...ถ้าไฟดับ แสดงว่า มีไฟรั่วเล็กๆ แล้ว ถึงตอนนั้น ก็ต้องพยายามเปิดใช้ไฟฟ้าให้หมด ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้

...................................................

อย่างที่3……..งานพื้น

อุปกรณ์ที่ต้องมี

- ถุงเท้า
- เหรียญบาท
- ลูกแก้ว สักประมาณ 20-30 ลูก
- กระดาษกาว
- กล้องถ่ายรูป (ถ่ายเป็นหลักฐาน)

1. ให้เดินลากเท้าเปล่าก่อนดูว่ารอยกระเบื้อง แกรนิต หรือหินอ่อนหรือ แผ่นไม้ หรือไม้ปาร์เก้ที่ปูนั้นเรียบเสมอดีหรือไม่ หลังจากนั้นให้ใส่ถุงเท้าแล้วเดินลากไปตามพื้นเช่นเดิม จะได้รู้ว่ามีรอยอีกหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดหรือเปล่า

2. ให้ใช้เหรียญบาทเคาะดูพื้นว่ามีเสียงพื้นโปร่งหรือเปล่า หากมีให้นำกระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายเอาไว้ เคาะกระเบื้อง ถ้ามีเสียงก้องๆ เหมือนข้างในเป็นโพรง ก็ต้องรื้อน่ะค่ะ ถ้าแป้กๆ ตันๆทั้งแผ่นก็เก็บไว้ แสดงว่าใช้ได้ โดยเฉพาะตรงขอบๆกระเบื้องนี่ไม่ได้เลย เสียงก้องนิดเดียวก็ไม่ได้

3. ให้วางลูกแก้วไปบนพื้นหากเป็นไปได้ ควรวางห่างกันอย่างน้อย 10 เซนติเมตร แล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน หากไหลรวมกันแสดงว่า พื้นเป็นหลุม หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด ให้เอากระดาษกาวแปะเอาไว้ เหมือนเดิม
หมายเหตุ - การเคาะอย่ารุนแรงมากแล้วให้เคาะกระเบื้องทุกแผ่นที่ปูได้จะดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องหรือ ห้องน้ำรวมทั้งผนังห้องน้ำที่ปูกระเบื้องด้วย รวมถึงพื้นปาร์เก้ด้วย

ป.ล. พื้นลามิเนต อย่าไปเคาะมันนะ ไม่มีผล ……………………………………………..

หมายเหตุ ผู้โพสต์เอง : สำหรับพื้นลามิเนตเหมือนที่โครงการของเรานี่ เวลาเดินพื้นจะต้องไม่ยวบ เรียบเสมอกัน ไม่บวม โป่ง พอง ขอบบัวพื้นจะต้องแนบสนิทกับพื้น หากแตกต่างจากนี้ ควรให้ช่างแก้ไข หากไม่แก้ไขเมื่อใช้ไปสักระยะ อาการที่ว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วคิดดูว่าเวลาที่ช่างมารื้อพื้นตอนที่เราเข้าอยู่แล้วจะเป็นอย่างไร (คงย้ายตู้ ยกเตียงกัน วุ่นไปหมด แน่ๆ)



อย่างที่4……….งานกำแพง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

- ไม้บรรทัด
- ไฟฉาย
- กุญแจบ้านทั้งหลัง

1. ให้เดินดูกำแพงว่าสะอาดดีหรือไม่ wall paper ที่ติดเอาไว้เรียบเสมอกันดีหรือเปล่า ดูให้ละเอียดๆ นะ ให้เอาหน้าแนบดูกับกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า มีกำแพงบุบหรือโป่งหรือเปล่า

2. ตามขอบบัวติดผนังให้เอาไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเล่นเป็นเหมือนรถไฟ หากมีการโป่งหรือเว้าตัวของบัวคุณจะเห็นช่องได้ที่อยู่ระหว่างไม้บรรทัด กับขอบบัว

3. สีนอกอาคารดูให้ทั่วว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า มีรอยน้ำหรือเปล่าหากมีแสดงว่าน้ำรั่วให้หาสาเหตุโดยด่วน

4. ตามประตูและหน้าต่างให้ลองเปิดปิดดูทุกบาน ดูว่ามีการทรุดตัวของประตูหรือหน้าต่างหรือเปล่า ลองปิดแบบปล่อยให้ประตูปิดเองจะรู้ได้ทันที ให้ปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดหรือเปล่า ลอง lock แล้วเปิดดูด้วยกุญแจทุกดอกดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า

5. หากมีมุ้งลวดให้ตรวจดูว่ามีรอยขาดหรือเปล่า หากมีให้เปลี่ยนทันที

6. ประตูรั้วหน้าบ้าน ลง lock ดีหรือเปล่า สามารถใช้งานได้จริงหรือเปล่า ลองเปิดและปิดดู แล้วลองดูว่าใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า ลองปิดดู



อย่างที่5……….สายโทรศัพท์

อุปกรณ์ที่ต้องมี

- โทรศัพท์บ้าน อย่างน้อย 2 เครื่อง เอาแบบใช้ถ่านนะ พร้อมสายต่อ
- เพื่อน คนสนิท หรือ คนทางบ้าน อย่างน้อยอีก 1 คนเช่นกัน

หลายๆบ้านที่ทางโครงการมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ให้ในกำแพง ให้เอาโทรศัพท์ไปต่อดู แล้วยกหูฟังดูแล้วลองคุยกันดู ว่าได้ยินหรือไม่
หมายเหตุ - การเช็คแบบนี้ไม่ต้องรอให้มีเบอร์โทรศัพท์ก่อนก็ได้



ข้อเตือนใจ

1. อย่าเชื่อลมปาก ให้เขียนลงกระดาษและลงวันที่เอาไว้ด้วย จดๆๆๆๆ
ข้อสำคัญ ต้องจดๆๆๆ เป็นรายการๆๆๆ ห้าม"จำ"ครับ เพราะจะลืม ...อย่าลืม เวลา, วันที่, แปลงที่ตั้งของบ้าน หรือชื่อเราเอง
เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่ง ถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมาชุดหนึ่ง ให้เค้า"เซ็นรับทราบ"ก็น่าจะดี
- ตอนมาตรวจครั้งที่สอง ก็ไล่ตามรายการ ...อ้อ! ให้ เค้า "นัดวันตรวจครั้งที่สองทันที" ในวันนั้นนะครับ
- น่าจะไปกันสองคน คนหนึ่งดู คนหนึ่งจด อย่าไว้ใจให้ผู้รับเหมาจด เพราะท่านมักจะลืมจด แบบตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ บ่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องที่แก้ไขยากๆ

2. ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐานทุกชิ้น
3. ให้ทำให้เสร็จก่อนโอน
4. อย่าเชื่อ โฟร์แมน ของโครงการโดยเด็ดขาด

หมายเหตุ - ข้อ 1 สำคัญที่สุด


การตรวจรับบ้าน(ใช้ได้ทั้งบ้านและคอนโดค่ะ)

การตรวจรับบ้านควรเตรียม สมุดโน้ต, ปากกา, ไขควงเช็คไฟ, ไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเหมือนรถไฟดูบัวหรือพื้นมีช่องเว้า โก่งงอ,ลูกปิงปองหรือลูกแก้ววางหลายๆลูกเพื่อตรวจสอบพื้นเรียบหากไหลรวมกันไปทางไหนพื้นเป็นหลุม หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นโก่งหรืออาจจะลองลากเท้าดูว่าเรียบหรือเปล่า, กล้องถ่ายรูป(ถ่ายแล้วพิมพ์ออกมาเวลาตรวจสอบเพิ่มเติม), ชอล์กสีทำเครื่องหมายจุดบกพร่อง,ไฟฉาย, สายยาง,ถังน้ำและเศษผ้าใช้ทดสอบการระบายในห้องน้ำโดยเอาผ้าอุดท่อระบายน้ำแล้วนำน้ำในถังน้ำเทแล้วเอาเศษผ้าออกเพื่อดูการระบายน้ำว่ามีท่วมขังหรือไม่,โทรศัพท์แบบใช้ถ่าย 2 เครื่องเพื่อทดสอบการโทร, โคมไฟเล็ก ทดสอบไฟ, เหรียญ 10บาท เคาะผนังปูนเพื่อทดสอบการกะเทาะของปูนตามรอยร้าว ในการแก้ไขต่าง ๆนั้นควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่งและถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมา "เซ็นรับทราบ"อีกชุดหนึ่งและให้ผู้รับเหมานัดวันตรวจครั้งที่สองในวันนั้นเลย ตอนมาตรวจการแก้ไขก็สามารถไล่ตรวจตามรายการดังกล่าวได้ทันที
1.ตรวจสอบหมายเลขเข็มหมุดเขตที่ดินทั้งสี่ทิศ
2.เช็คมิเตอร์ น้ำ, ไฟ ก่อนโอนและบันทึกหน่วยการใช้, ไม่มีค้างชำระ
3.จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง(ชื่อ,นามสกุล,ที่ติดต่อ)
4.นำชอล์กทำเครื่องหมายไว้ ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปไว้ด้วย
5.ตรวจสอบที่ดินตรงที่จะสร้างบ้านเป็นอะไรก่อนสร้าง, เป็นสระน้ำ,บ่อน้ำหรือเปล่า
6. สอบถามเรื่อง กำหนดการ เก็บขยะ วันเวลา โดยประมาณ รวมถึง ช่วงเวลาที่"เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า และประปา" มาเก็บเงิน
7.ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน (ใบรับประกันการมุงหลังคา,ใบรับประกันฉีดกันปลวก, ใบรับประกันแอร์, ใบรับประกันระบบตัดไฟ, ปั้มน้ำ,เครื่องดูดควัน)
8.ขอแบบบ้านพิมพ์เขียว (บางโครงการอาจให้), ระบบประปา, สุขาภิบาล, ผังไฟฟ้า,ผังฐานราก, คานคอดิน, แบบขยายฐานราก ควรขอเป็นแบบที่มีการแก้ไขในขณะก่อสร้าง(as-build drawing) ด้วยจะดีที่สุดเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขซ่อมแซมหรือต่อเติมในอนาคต
9.ควรขอรายละเอียดของ Spec เบอร์"สี"ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จะได้ไม่เพี้ยนกันมาก( แต่ทั่วไป เวลานานๆไป สีจะจืดต่อให้ใช้เบอร์เดิม ก็เพี้ยนได้ครับ)ภายในบ้านควรมีกระเบื้องปูพื้นที่ใช้ในบ้าน สำรองเอา ไว้เผื่องานซ่อมเพราะหากไปซื้อทีหลังจะ หารุ่นเดิม สีเดิมไม่ได้แน่นอน
10.ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา
11.ให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้นมากเป็นพิเศษอาจเป็นเพราะว่าตามจุดเหล่านั้น มีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย
การบำรุงรักษาบ้าน
-ใน 3 – 4 เดือนแรก ถ้าหากบ้านใช้เครื่องปรับอากาศไม่ควรให้อุณหภูมิภายในและภายนอก แตกต่างกันเกินกว่า 10 องศาซึ่งจะช่วยป้องกันบ้านของท่านมิให้เกิดรอยแตกร้าว
-หากมีรอยแตกร้าวควรทิ้งไว้ประมาณ 6 – 9 เดือน เพื่อให้วัสดุต่างๆ อยู่ตัวหลังจากนั้นจึงค่อยตกแต่งแก้ผนังส่วนนั้นๆ
-หากพบจุดบกพร่องที่แก้ไขได้ยาก ทำการต่อรองเพื่อขอค่าชดเชย

ข้อควรทราบ
1.อย่าเชื่อลมปาก ให้เขียนลงกระดาษและลงวันที่เอาไว้ด้วย
2. ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐานทุกรูป (ถ่ายแล้วพิมพ์ออกมาเวลาตรวจสอบเพิ่มเติม)ผมขอแนะนำให้ถ่ายบ้านตัวอย่างทั่วๆบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ด้วยจะได้เปรียบเทียบกับบ้านเราได้ถ้าไม่เหมือนกันจะได้ขอคำตอบจากโครงการว่าทำไมไม่เหมือนกัน หรือให้แก้ไขให้ถูกต้อง
3. ให้ทำให้เสร็จก่อนโอน
4.อย่าเชื่อ โฟร์แมน ของโครงการโดยเด็ดขาด
5. กรณีที่เป็นโครงสร้างของอาคาร ได้แก่ เสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้นโครงหลังคา และผนังที่รับน้ำหนัก เป็นต้นภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
6.กรณีที่เป็นส่วนควบหรืออุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารนอกจากโครงสร้าง ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ รั้วและกำแพงภายในระยะเลาหนึ่งปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์

1.ระบบโครงสร้าง
ตรวจเช็คความลาดเอียง รอยร้าวต่างๆ โดยเฉพาะในบริเวณ พื้น คาน เสาซึ่งถือว่าเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญที่สุดของบ้าน

2.สภาพภายนอกตัวบ้าน
ตรวจดิ่ง ฉาก ของท่อระบายน้ำ ท่อประปา สภาพของทางระบายน้ำ ถังบำบัด
ท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำดี ท่อต่างๆ เหล่านี้มีระยะความลาดเอียงเป็นอย่างไร ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำเรียบร้อยสวยงามหรือไม่ ผนังบ้านด้านนอกมีจุดที่แหว่งหรือมีสีเลอะเทอะ งานปูนในส่วนที่เป็นซอกมุมเรียบร้อยหรือไม่ งานทรายล้างที่ลานจอดรถและลานซักล้าง หลังบ้านต้องไม่มีน้ำขังเป็นหลุม บ่อลองเทน้ำราดทดสอบดู

3.งานใต้หลังคา
อุปกรณ์ที่จะต้องมีไขควงวัดไฟ, รองเท้าพื้นยาง กันไฟดูด,ถุงมือหนา กันไฟดูด, บันไดยาวๆ ขึ้นใต้หลังคา, ไฟฉาย, กล้องถ่ายรูปตรวจงานอันนี้เป็นหน้าฝนได้จะดีมากๆหากไม่ใช่หน้าฝน จะตรวจเช็คได้ลำบาก เพราะท่านต้องหาสายน้ำพร้อมกับเครื่องปั้มน้ำแรงดันสูง มาประจำตัวด้วยตรวจสอบโครงหลังคาได้ฉากได้ระดับหรือไม่ ระยะห่างของแปเป็นอย่างไร การติดตั้งและการยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาถูกต้องเท่ากันหรือไม่ มีการซ้อนทับของกระเบื้องถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งหรือไม่ ความลาดเอียง ครอบสันเป็นอย่างไร มีแผ่นกระเบื้องบางแผ่นแตกหรือมีการรั่วซึมหรือไม่ ไม้ระแนงและไม้เชิงชาย มีการไสแต่งผิวเรียบเนียน มีขนาดสม่ำเสมอกันหรือไม่ มีการทาน้ำยากันปลวกและรักษาเนื้อไม้หรือไม่ และการนำสายยางมาฉีดน้ำให้ทั่วทั้งหลังคาบ้าน และตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่, หลังคาชั้น 1 ลองใช้สายยางฉีดน้ำดูว่ารั่วหรือไม่

1.เริ่มด้วยการปีนขึ้นไป ให้ปิด main breaker ก่อนด้วยนะครับ แล้วก็อย่าลืมถุงมือและรองเท้าพื้นยาง ตอนที่ขึ้นไปใต้หลังคาให้ระวัง อย่าไปเหยียบที่โครงฝ้านะครับ ให้เหยียบที่ โครงเหล็กของหลังคาเท่านั้น (โดยเด็ดขาด) เพราะหากไม่เช่นนั้นแล้วร่างท่านอาจจะลงไปกองอยู่ที่พื้นด้านล่างได้ หลังจากนั้นให้ใช้ไฟฉายส่องไปให้ทั่วๆ ดูว่า มีแสงลอดมาจากด้านนอกไหม (ตามกระเบื้องหลังคา) หากมีเนี่ยให้ทางโครงการรีบมาอุดซะ เพราะ มีโอกาสสูงมากๆ ที่น้ำอาจจะเข้ามาทางนั้นได้เวลาฝนตกหนักๆ
2.หากใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อนแล้ว (ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแผ่นฟรอยบางๆ)หากมีรอยฉีกขาดให้ทางโครงการมาปะให้ด้วยนะครับ
3.แล้วก็ลองสังเกตดูสายไฟด้วยนะครับ ต้องร้อยอยู่ใต้โครงเหล็กหลังคานะครับไม่ใช่ร้อยอยู่เหนือโครงเหล็ก เพราะหากมีไฟช๊อตขึ้นมา ก่อนที่ท่านจะปีนขึ้นไปได้ ไฟอาจจะช๊อตท่านตกลงมาซะก่อนล่ะครับ

4.ระบบน้ำ (กระป๋องน้ำ, เศษผ้าอุดท่อน้ำ, กล้องถ่ายรูป)
1.ให้ความสำคัญกับห้องน้ำและบันไดเป็นพิเศษ เนื่องจากทั้งสองส่วนดังกล่าวหากมีอะไรผิดพลาดน่าจะยุ่งยากแก่เจ้าของบ้านในการแก้ไขภายหลัง ก็เลยตรวจให้อย่างถ้วนถี่สักหน่อย
2.เช็คระบบช่องน้ำล้น โดยขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างครัว ที่ซักผ้า โดยขังน้ำให้เต็มดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ แล้วปล่อยน้ำไหลออกดูว่าสะดวกหรือไม่ ถ้ามีอาการปุดๆ แสดงว่าไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศเล็กไป ทดลองใช้พร้อมกัน ดูการแย่งน้ำ กดสายชำระดูว่าใช้ดีหรือไม่
3. ใส่ใจเรื่องความลาดเอียงของพื้นในส่วนเปียกที่จำเป็นต้องมีการไหลระบายถ่ายเทของน้ำต้องมีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำ อย่างห้องน้ำ, กันสาด, ลานจอดรถหรือลานซักล้าง เตรียมถังน้ำมาใบหนึ่ง ใส่น้ำมาเทราดไปเรื่อยตามส่วนต่างๆดังกล่าว ดูว่ามีที่ท่วมที่ขังอย่างไรบ้าง ตรงไหนท่วม ตรงไหนขัง
4.ปั้มน้ำ ให้ลองเปิดน้ำดูแล้วเดินไปที่ปั้มน้ำว่ามีเสียงการทำงานของปั้มน้ำหรือเปล่าน้ำแรงแค่ไหน
5.เปิด-ปิด ก๊อกน้ำทุกหัวในบ้านแล้วลองปิดดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ มีรอยรั่วจากตรงไหนบ้าง หากปิดก๊อกน้ำทั้งบ้านแล้ว ให้เดินไปที่ มิเตอร์น้ำ ไปดูว่า มิเตอร์หมุนหรือไม่ หากมิเตอร์หมุนให้ทำการตรวจเช็คแสดงว่ามีท่อน้ำรั่วที่ไหน สักแห่งในบ้าน (ห้องที่มีก๊อกน้ำ ห้องน้ำทุกห้อง อ่างล้างหน้า สายชำระ ชักโครก ห้องครัว (ตามsink ล้างจาน) สนามพื้นหน้าบ้าน (ก๊อกน้ำฉีดรดน้ำต้นไม้)
6.รายการของที่ต้องมีในห้องน้ำ (อ่างล้างหน้าพร้อมก๊อกน้ำ, ชักโครกและสายชำระ,ที่ใส่กระดาษชำระ, ที่แขวนผ้าเช็ดตัว, ก็อกน้ำและฝักบัว,ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น)

5.ระบบไฟฟ้า
อุปกรณ์มี ไขควงวัดไฟ, โคมไฟเล็กหรือไดร์เป่าผม(Test ไฟฟ้า), ไขควง4 แฉก, รองเท้าแตะหรือ รองเท้าพื้นยาง กันไฟดูด, ถุงมือหนา กันไฟดูด, บันไดยาวๆปีนดูหลอดไฟและขึ้นใต้หลังคา, ไฟฉาย, ล้องถ่ายรูป การตรวจสอบระบบไฟฟ้าครอบคลุมตั้งแต่ มิเตอร์ ปลั๊กไฟ สวิทช์ ดวงโคม รวมสายล่อฟ้า สายโทรศัพท์และทีวี ควรทดสอบไฟทุก ๆ จุด ด้วยการเอาหลอดไฟเล็กๆหรือโคมไฟไปเสียบและทดลองเปิดดู หากเปิดไฟแล้วปรากฏว่ามีเสียงดัง คราง ๆก็ลองให้ช่างตรวจสอบดูนะครับ สาเหตุที่พบบ่อยคืออาจเกิดจากการสั่นของอุปกรณ์บางตัวที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก ขั้นต่อมาให้ทดลองเปิดไฟทุกดวง ทิ้งไว้ ตั้งแต่ทางเข้าบ้าน ปิดแล้วเปิดใหม่ทุกดวง อย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยทิ้งระยะเวลาด้วยนิดหนึ่ง ส่วนการทดสอบปลั๊กไฟนั้น ควรเอาอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบปลั้กไปด้วย เช่น โคมไฟเล็กๆ หรือพัดลมเล็ก ทำการทดสอบเสียบที่เต้าเสียบ ทุกอันในบ้านว่าทำงานหรือไม่ ในส่วนของการเดินสายไฟนั้น ให้ดูว่าเดินเป็นแนวเข้ามุมเรียบร้อยดีหรือไม่อย่างไร การติดตั้งปลั๊กหรือสวิททุกตัวถูกต้อง ได้มาตรฐาน และใช้งานสะดวก และถ้ามีระบบตัดไฟ และระบบเช็คความต่างศักดิ์ ก็ควรจะขอใบรับประกันเอาไว้ด้วย และที่เครื่องดังกล่าวจะมีปุ่มทดสอบ ให้ลองกดทดสอบดู สอง หรือสามครั้ง ดูว่า ปุ่มหมุนอยู่ที่ ศูนย์ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ศูนย์ ให้หมุนไปที่ศูนย์ ถ้าไฟดับแสดงว่า มีไฟรั่วเล็กๆ แล้วมีการเขียนรายละเอียดการใช้งานกำกับไว้ที่สวิตซ์ทั้งหมด
1.เปิดไฟฟ้าทั่วทุกดวง
2.เปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้าน มีดวงไหนขาดไปหรือเปล่า
3.เอาไขควงจิ้มที่น็อต ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น็อตหรือเปล่า ให้ใช้ไขควง 4แฉกเปิดปลั๊กไฟทุกจุดหรือ random ดูว่ามีการเดินไฟเอาไว้กี่เส้นต้องมีสายดินต่อเอาไว้ พอเปิดออกมาแล้วจะเห็นสายไฟต้องมี 3 เส้นพอเสร็จแล้วให้เอาไดร์เป่าผมหรือโคมไฟเสียบแล้วลองใช้ดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างไม่มีไฟ
4.ห้องน้ำมีการเดินสายไฟเอาไว้ให้สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือยังหากห้องไหนมีอ่างอาบน้ำแล้วคุณจำเป็นต้องใช้เครื่องทำน้ำร้อนก็ต้องให้เดินสายไฟให้ก่อนที่จะทำการตรวจรับมอบบ้านหรือเป็นไปได้ให้เขียนอยู่ในสัญญาก็ได้ว่าให้เดินสายไฟให้ฟรี การเดินสายไฟพวกนี้ก็เหมือนกันให้เดิน 3 เส้น (มีสายดิน) แล้วที่สำคัญ ต้องมีbreaker ให้ด้วย อยู่หน้าห้องน้ำก็ได้ หากโครงการบอกว่า ตู้ไฟเดี๋ยวนี้เค้าแยกจุดให้แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้เค้าทำให้เราให้ได้ เพราะหากไฟดูดตายขึ้นมาคนพูดเค้าไม่ได้มาตายกับเราด้วย
5.ให้ปีนไปดูใต้หลังคา ก่อนจะปีนให้ปิด main breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปด้วย มีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อให้เราหรือเปล่า หากไม่มีให้ทำด้วย ไม่ใช่ร้อยสายไฟในท่อเฉพาะในกำแพงอย่างเดียว ใต้ฝ้าก็ต้องร้อยท่อให้เราด้วย เพราะหากหลังคารั่วน้ำมาโดนสายไฟจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านได้ สายไฟ MAIN อย่างน้อยต้องเป็น 16 square/mm หากสูงกว่านี้ได้ยิ่งดี และสายไฟ main ต้องมีไม่รอยทำการตัดต่อเป็นอันขาด หากมีการตัดต่อให้ทางโครงการเปลี่ยนให้ได้ เพราะอันตรายมาก มีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดเพลิงไหม้ได้สูง
6. ปิดไฟให้หมดทั้งบ้าน (ไม่ต้องปิด main breaker)แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามีไฟวิ่งอยู่หรือเปล่าหากมิเตอร์ยังวิ่งแสดงว่ามีไฟรั่วให้ทำการตรวจหาแล้วทำการแก้ไขเสียก่อน
7. หากทางโครงการแถมติดแอร์ให้ฟรี ให้ทำดังนี้ ให้เปิดแอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสามารถเปิดได้
เปิดให้หมดพร้อมกันทุกตัว สักประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเดินไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามันวิ่งแบบน่ากลัวหรือเปล่า หมุนติ้วๆ เป็นลูกข่างหรือเปล่าเพื่อทำการเช็คได้ว่ามิเตอร์จะทำการรับการใช้งานได้หรือเปล่า แอร์ต้องไม่ตัดอุปกรณ์
ทุกอย่างต้องไม่ตัด
8. สายดินของ main breaker ถามว่าฝังเอาไว้ตรงจุดไหน ส่วนใหญ่ 80-90%จะฝั่งให้แต่ไม่ลึก ตามมาตรฐานแล้วต้องฝั่งให้ลึกอย่างน้อย 2 เมตรส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นเค้าจะบอกว่าเทปูนทับไปแล้วหากเป็นไปได้ลองเช็คเรื่องนี้ดู ว่าเค้าฝังลงไปลึกเท่าไหร่ หรือไม่ก็ให้ฝังให้ใหม่ อันนี้ยอมเสียเงินเองก็ได้ เรื่องสำคัญมากเรื่องสายดินเป็นท่อทองแดงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ นิ้วก้อยผู้ชายตัวโตๆ เห็นจะได้แล้วใช้ค้อนปอนด์ตอกลงดินให้ลึกถึงชั้นดิน อย่างน้อยต้องมี 2 เมตร
9. หลอดไฟ (downlight) ให้ต่อรองหรือขอชดเชยในส่วนที่บกพร่อง ให้ใส่เป็นหลอดประหยัดไฟ หากได้จะดีมาก เพราะหลอดพวกนี้ราคาค่อนข้างสูง 1 หลอด ประมาณ 100กว่าบาท แล้วแต่ยี่ห้อและขนาดของหลอดไฟด้วย หากมีหลอดไฟสัก 30 หลอดก็ต้องเสียเงินไปประมาณ เกือบๆ 4 พันแล้ว
10. ปลั๊กไฟนอกอาคาร ต้องเป็นปลั๊กไฟที่มีตัวปิดกันน้ำให้ด้วยเพราะเวลาฝนตกหรือฝนสาดจะได้ไม่เป็นอันตราย
11. กระดิ่งไฟหน้าบ้าน ให้ไขออกมาดูว่าเดินไฟ 3 เส้นหรือเปล่าเป็นรุ่นที่มียางกันน้ำหรือไม่ หรือมีกล่องครอบกันน้ำหรือเปล่า สำคัญมากๆ เพราะหากกระดิ่งไฟหน้าบ้าน เกิดชื้นขึ้นมา จะทำให้ ท่านที่ติด กล่อง safe-t-cut
หรือกล่องยี่ห้ออื่นก็ได้ ไฟจะตัดตลอดหากกระดิ่งชื้น จริงๆแล้วไม่ต้องติดก็ได้ครับ safe-t-cutเปลืองเงินโดยใช่เหตุหากท่านไปมีใช้อยู่แล้วเกิดปัญหาว่า safe-t-cut ตัดบ่อย 90กว่า % มาจากสาเหตุนี้ทั้งนั้นเลย
12. ไฟนอกอาคาร หรือ ไฟรอบๆ บ้านควรมีเอาไว้รอบบ้าน ดีกว่านะครับแล้วท่านที่ต้องการเปิดไปหน้าบ้านให้ไปซื้อสวิทช์เปิดไฟอัตโนมัติมาให้ช่างโครงการติดก็ได้ครับ ไม่ยากแล้ว อย่าลืม เขียนเป็นลายลักษณะอักษร
13. มีระบบตัดไฟเมนเบรกเกอร์พร้อมแบ่งชั้นบนชั้นล่างมีการต่อสายดินไว้จริงโดยดูจุดลงสายดินให้เรียบร้อยหรือควรหาไขควงวัดไฟจี้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินตรงน็อตสักตัวเพื่อหาไฟรั่ว ทดสอบโดยการปิดไฟทั้งหลังแล้วนั่งดูมิเตอร์

6.งานพื้น
อุปกรณ์ที่ต้องมี ถุงเท้า, เหรียญบาท, ลูกแก้ว สักประมาณ 20-30 ลูก หรือลองเดินลากเท้าดูว่ามีสะดุด ตรงไหนหรือเปล่า, กระดาษกาว, กล้องถ่ายรูป
พื้นไม้ปาเก้ร์
การติดตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาช่างนั้นต้องรอให้พื้นที่จะปูแห้งสนิทและทาน้ำยากันซึมไว้ด้วยบริเวณรอยต่อพื้นไม้แต่ละชิ้นต้องต่อกันสนิทแต่ไม่ควรจะแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดการโก่งงอจากการขยายตัวของไม้ได้ง่าย,
1.ให้เดินลากเท้าเปล่าก่อนดูว่ารอยกระเบื้อง แกรนิต หรือหินอ่อนหรือ แผ่นไม้หรือไม้ปาร์เก้ที่ปูนั้นเรียบเสมอดีหรือไม่ หลังจากนั้นให้ใส่ถุงเท้าแล้วเดินลากไปตามพื้นเช่นเดิมจะได้รู้ว่ามีรอยอีกหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดหรือเปล่า
3.ให้ใช้เหรียญ 10 บาทเคาะพื้นว่ามีเสียงพื้นโปร่งหรือเปล่าหากมีให้นำกระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายเอาไว้หรือใช้ชอล์กกากบาทไว้ แล้วถ่ายรูปเก็บเป็นหลักฐานไว้
4.ให้วางลูกแก้วไปบนพื้นหากเป็นไปได้ ควรวางห่างกันอย่างน้อย 10 เซนติเมตรแล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน หากไหลรวมกันแสดงว่า พื้นเป็นหลุมหากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด ให้เอากระดาษกาวแปะเอาไว้ เหมือนเดิม,ดูยารอยแนวให้เรียบร้อย
5.ดูความเรียบร้อยของพื้นโดยให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดังพื้นมากพิเศษ
6.พื้นบริเวณด้านนอกตัวบ้าน ควรอยู่สูงกว่าระดับของถนนด้านหน้าบ้านต้องราบเรียบสม่ำเสมอ
หมายเหตุ - การเคาะอย่ารุนแรงมากแล้วให้เคาะกระเบื้องทุกแผ่นที่ปูได้จะดีมากๆไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องหรือ ห้องน้ำรวมทั้งผนังห้องน้ำที่ปูกระเบื้องด้วยรวมถึงพื้นปาร์เก้ด้วย

7.งานกำแพง ผนัง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ไม้บรรทัด, ไฟฉาย, กุญแจบ้านทั้งหลัง ผนังที่ก่อขึ้นมานั้น มีความถูกต้อง ได้ระยะได้ดิ่งหรือไม่อย่างไร บริเวณรอยต่อ รอยชนของผนัง ตลอดจนพื้นผิวผนังที่ฉาบเสร็จแล้วนั้นเรียบเสมอกัน สีที่ทามีความเรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีการหลุดร่อนของเนื้อสีหรือมีรอยด่างให้เห็นครับ การติดตั้งบัวเชิงผนัง
บัวเชิงเพดาน ติดตั้งได้เรียบร้อยแนบสนิทหรือไม่ ตรวจสอบดูว่าผนังด้านต่าง ๆ นั้นมีรอยร้าวให้เห็นหรือไม่ แต่ไม่ต้องกังวลกับรอยร้าวเล็ก ๆ บนผนัง ที่มีสาเหตุมาจากปูนฉาบที่แห้งตัวไม่เท่ากัน เพราะรอยร้าวชนิดนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการโป๊วปิดรอยดังกล่าวและทาสีทับได้ครับ และใช้เหรียญ 10 บาท เคาะตามผนังปูนถ้าเสียงก้อง แสดงว่าปูนร่อนต้องให้สกัดแล้วฉาบใหม่ ตรงไหนมีปัญหาใช้ชอลก์ทำเครื่องหมายไว้ แล้วถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน
1.ให้เดินดูกำแพงว่าสะอาดดีหรือไม่ wall paper ที่ติดเอาไว้เรียบเสมอกันดีหรือเปล่า ดูให้ละเอียดๆ นะ
ให้เอาหน้าแนบดูกับกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า มีกำแพงบุบหรือโป่งหรือเปล่า
2.ตามขอบบัวติดผนังให้เอาไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนเล่นเป็นเหมือนรถไฟ หากมีการโป่งหรือเว้าตัวของบัวคุณจะเห็นช่องว่างที่อยู่ระหว่างไม้บรรทัด กับขอบบัว
3.สีนอกอาคารดูให้ทั่วว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า มีรอยน้ำหรือเปล่าหากมีแสดงว่าน้ำรั่วให้หาสาเหตุโดยด่วน
4.ตามประตูและหน้าต่างให้ลองเปิดปิดดูทุกบาน ดูว่ามีการทรุดตัวของประตูหรือหน้าต่างหรือเปล่า ลองปิดแบบปล่อยให้ประตูปิดเองจะรู้ได้ทันที ให้ปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดหรือเปล่า ลอง lock แล้วเปิดดูด้วยกุญแจทุกดอกดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า
5.หากมีมุ้งลวดให้ตรวจดูว่ามีรอยขาดหรือเปล่า หากมีให้เปลี่ยนทันที
6.ประตูรั้วหน้าบ้าน ลง lock ดีหรือเปล่า สามารถใช้งานได้จริงหรือเปล่า ลองเปิดและปิดดู แล้วลองดูว่าใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า ลองปิดดู
7.ตรวจสอบรอยร้าวกำแพงรั้วบ้านและความเรียบร้อย

8.ระบบฝ้าเพดาน
ตรวจสอบระบบฝ้าเพดานจะคล้ายกับการตรวจ พื้น และผนัง ครับ คือตรวจสอบดูความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไป ระดับการติดตั้ง การเข้ามุม ความเรียบร้อยบริเวณรอยต่อต่าง ๆ และหากมีร่องรอยหยดน้ำอยู่ที่ฝ้าเพดาน ต้องรีบตรวจสอบหาสาเหตุของรอยดังกล่าวอย่างละเอียดครับ เมื่อตรวจสอบสภาพภายนอกของฝ้าเพดานแล้ว เอาบันไดมาปีนดูช่องเปิดของฝ้าเพื่อตรวจสอบ ปูนโป๊ว ระยะโครงเคร่าต่าง ๆ ว่ามีความเรียบร้อยสม่ำเสมอหรือไม่ครับ ดูว่ามีฉนวนกันความร้อน, มีเศษไม้หลงเหลือเป็นอาหารปลวกหรือเปล่า

9.ระบบช่องเปิด-ปิด กลอน ประตู หน้าต่าง กุญแจ
หลักการใหญ่ ๆ ในการตรวจสอบประตูหน้าต่างและช่องเปิดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มือจับ กุญแจ บานพับ กลอนประตู หน้าต่าง ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้แนวได้ระดับถูกต้อง สวยงาม ตรวจสอบดูกลอนประตูว่าหลวมหรือแน่นไปหรือไม่ ประตู หน้าต่างดังกล่าวเปิดปิดเป็นอย่างไร ปิดไม่สนิท หรือปิดลำบาก หรือไม่ การยาแนวระหว่างกระจกกับบานประตูเรียบร้อยทั่วถึงหรือไม่ ทดลองใส่กลอนทุกตัวว่าใส่ได้จริงๆ และเรียบร้อยหรือไม่ กุญแจ ต่าง ๆ เปิดปิดได้จริงๆ หรือไม่, เปิด-ปิดประตูรั้ว ประตู หน้าต่างทุกบาน อุปกรณ์ทั้งหลาย, มี door stop ยางกันกระแทกหรือเปล่า

10.ระบบสุขาภิบาล
ในการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลนั้น ควรทดลองใช้งานสุขภัณฑ์ทุกตัว เปิดก๊อกน้ำ จนสุดทุกก๊อก ดูว่าน้ำไหลดีไหม การหมุนของวาวเป็นอย่างไร ทดลองหมุนเข้า หมุนออก สองสามครั้ง หรือมากครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้
และตรวจเช็คข้อต่อว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่ โดยมีวิธีการเช็ครอยรั่วซึมในจุดที่มองไม่เห็นได้ด้วยการปิดการใช้น้ำทุกตัว ถ้าวาล์วน้ำยังหมุนหรือปั๊มน้ำยังมีการทำงานถี่ตลอดเวลา แสดงว่าบ้านท่านมีอาการรั่วซึม ต้องทำการตรวจเช็คโดยด่วน จากนั้นก็ตรวจเช็คระบบช่องน้ำล้นในสุขภัณฑ์ ด้วยการขังน้ำไว้ ในสุขภัณฑ์ ในบริเวณที่ขังได้ เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ อ่างครัว ที่ซักผ้า ทดลองขังน้ำไว้ให้เต็ม ดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ เสร็จแล้ว
ปล่อยน้ำออกในทันทีดูว่าน้ำไหลได้สะดวกหรือไม่ ถ้ามีอาการ ปุดๆ แสดงว่า ไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศตัน หรือท่ออากาศเล็กไป และถ้าอยู่ในห้องน้ำเดียวกัน ให้ทดลองเปิดน้ำออกพร้อมกัน เพื่อดูว่า การแย่งกันไหลออกของน้ำ มีผลอย่างไร จะให้ดีลองกดชักโครกทดสอบการใช้งานไปพร้อมๆ กันด้วย ยิ่งดีครับ เพื่อให้ระบบน้ำ
แย่งกันใช้งาน ให้มากที่สุด และสังเกตด้วยว่าน้ำในชักโครกไหลคล่องหรือไม่ ตลอดจนทดสอบกดสายชำระทุกอัน ดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ จากนั้นให้เอาถังน้ำที่เตรียมไว้มา รองน้ำให้เต็ม แล้วค่อยๆ เทลงพื้นห้องน้ำ
เพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำ ถ้าทำได้ให้เอาผ้าอุดที่รูระบายน้ำพื้น ให้น้ำขัง แล้วค่อยปล่อยน้ำให้ไหล ดูว่า การระบายน้ำที่พื้น เป็นอย่างไร สุดท้ายลองตรวจสอบดูตามจุดอับ จุดซ่อนเร้นต่าง ๆ เช่น บริเวณใต้เคาร์เตอร์
ว่าช่างเก็บงานเรียบร้อยหรือไม่ ตรวจสอบปากท่อระบายน้ำทุกที่ ไม่ควรมีวัสดุหรือรอยปูนตกค้างอยู่

11.สายโทรศัพท์
อุปกรณ์ที่ต้องมีโทรศัพท์บ้าน อย่างน้อย 2 เครื่อง
เอาแบบใช้ถ่านนะ พร้อมสายต่อเพื่อน คนสนิท หรือ คนทางบ้าน อย่างน้อยอีก 1 คนเช่นกัน
1.หลายๆบ้านที่ทางโครงการมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ให้ในกำแพง ให้เอาโทรศัพท์ไปต่อดู แล้วยกหูฟังดูแล้วลองคุยกันดู ว่าได้ยินหรือไม่
หมายเหตุ – การเช็คแบบนี้ไม่ต้องรอให้มีเบอร์โทรศัพท์ก่อนก็ได้ การบำรุงรักษาบ้าน

นำข้อมูลมาจาก : http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&m=210507&#210507

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment